ราคาสุกรหน้าฟาร์มวันนี้

ค้นหาข้อมูลย้อนหลัง
ประเภทสินค้า / ชื่อสินค้า รายละเอียด ราคา หน่วยนับ ตลาด วันที่
สุกร
สุกรขุน สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 57.00 บาท/กก. เค พี ฟาร์ม อ.เมือง จ.นครปฐม 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 57.00 บาท/กก. ที เค ฟาร์ม อ.เมือง จ.นครปฐม 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 58.00 บาท/กก. เค เอส ฟาร์ม อ.สามพราน จ.นครปฐม 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 58.00 บาท/กก. เล่งเค็งฟาร์ม อ.เมือง จ.นครปฐม 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 60.00 บาท/กก. กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรบ้านปากพิงตะวันออก อ.เมือง จ.พิษณุโลก 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 60.00 บาท/กก. ศิริสมานฟาร์ม อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 60.00 บาท/กก. ฟาร์มหมูปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 61.00 บาท/กก. บุญมีฟาร์ม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 61.00 บาท/กก. จรูญฟาร์ม อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 61.00 บาท/กก. ตลาดสุรนคร อ.เมือง จ.นครราชสีมา 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 61.00 บาท/กก. บ.ก้าวหน้าปศุสัตว์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. ร้านเทพบุตร อ.เมือง จ.เชียงราย 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. อลงกรณ์ฟาร์ม อ.พาน จ.เชียงราย 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. สุพัฒน์ฟาร์ม อ.เมือง จ.พะเยา 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. บริษัท บุรีรัมย์ฟาร์ม จำกัด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. สดใสฟาร์ม อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. สินทวีฟาร์ม อ..เมือง จ.ศรีสะเกษ 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. บ.ตรังวัฒนาฟาร์ม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. ภักดีฟาร์ม อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 63.00 บาท/กก. สหไทยฟาร์ม อ.เมือง จ.มุกดาหาร 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 63.00 บาท/กก. ขุนทะเลฟาร์ม อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 63.00 บาท/กก. เล็กฟาร์ม อ.เมือง จ.ยะลา 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 63.00 บาท/กก. สมาคมผู้เลี้ยงสุกร ภาคใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 64.00 บาท/กก. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 65.00 บาท/กก. หจก.เค.ที.อาร์ฟาร์ม อ.แม่ทา จ.ลำพูน 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 65.00 บาท/กก. ชัยภูมิฟาร์ม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 2012-06-05
ลูกสุกรขุนน้ำหนัก 16 กก. 1,500.00 บาท/ตัว ศิริสมานฟาร์ม อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 2012-06-05
น้ำหนัก 16 กก. 1,500.00 บาท/ตัว จรูญฟาร์ม อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 2012-06-05
น้ำหนัก 16 กก. 1,500.00 บาท/ตัว กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรบ้านปากพิงตะวันออก อ.เมือง จ.พิษณุโลก 2012-06-05
น้ำหนัก 16 กก. 1,600.00 บาท/ตัว บุญมีฟาร์ม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 2012-06-05

Update ราคาหมู

 

ประจำวันที่ 4 มิถุนายน 2555
  ราคา สุกรเนื้อ
  สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ 0.00 (0)
  ราชบุรี 56.00 (-2.5)
  นครปฐม 59.00 (0)
  ฉะเชิงเทรา 58.00 (-1)
  ชลบุรี 58.00 (-1)
  อีสาน 58.00 (-4)
  เชียงใหม่ 62.00 (-2)
  ศรีราชา 58.00 (-3)
  สุราษฎร์ธานี 62.50 (-2)
  สงขลา 65.50 (+1)
  ซี.พี 0.00 (0)
  โรงงานบางคล้า 0.00 (0)
  ลูกสุกร 1,500.00 +- 57.00

แนวโน้มสุกร

สุกร

วันที่ 31 พ.ค. 2555
 
 
 

สุกร

ราคาที่เกษตรกรขายได้ 61.60 บาท/กิโลกรัม

การผลิตสุกร ปี 2554-2555

รายการ

การผลิตสุกร

%การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ปี 2554

2554

2555

ผลผลิต (ตัน)*

11,889,845

12,146,460

2.16

*หมายเหตุ : ข้อมูล เดือนธันวาคม 2554
 
 ปฏิทินการผลิต (ร้อยละช่วงเดือนที่เก็บเกี่ยวผลผลิต)

พ.ค

มิ.ย.

ก.ค.

8.25

8.20

8.10

 

สถานการณ์ราคา

        ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ ในสัปดาห์ที่ 4 เดือนพฤษภาคม 2555 (วันที่ 28พฤษภาคม 3 มิถุนายน 2555 ) อยู่ที่ กิโลกรัมละ 61.60 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ  62.40 บาท  คิดเป็นร้อยละ 1.28  ในเดือนมิถุนายนคาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวน  996,010 ตัว

ภาวะราคาหมู

ประจำเดือน มิถุนายน 2555
หน่วยงาน 28/05/12 04/06/12 ราคาเฉลี่ย
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ 0.00 0.00 0.00
ราชบุรี 58.50 56.00 57.25
นครปฐม 59.00 59.00 59.00
ฉะเชิงเทรา 59.00 58.00 58.50
ชลบุรี 59.00 58.00 58.50
อีสาน 62.00 58.00 60.00
เชียงใหม่ 64.00 62.00 63.00
ศรีราชา 61.00 58.00 59.50
สุราษฎร์ธานี 64.50 62.50 63.50
สงขลา 64.50 65.50 65.00
ซี.พี 0.00 0.00 0.00
โรงงานบางคล้า 0.00 0.00 0.00
ลูกสุกร 1,500.00 +- 59.00 1,500.00 +- 57.00 1,500.00

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงสุกร

   ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยได้มีการพัฒนาการด้านพันธุ์อาหารสัตว์ การจัดการและการสุขาภิบาล จนทัดเทียมกับต่างประเทศ การเลี้ยงสุกรภายในประเทศ แม้จะมีฟาร์มใหญ่ ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อยที่ทำการเลี้ยงสุกรรายละ 1-20 ตัว ตามหมู่บ้านอยู่เป็นจำนวนมาก เกตรกรรายย่อยดังกล่าวจำเป็นจะต้องได้รับความรู้ในด้านการเลี้ยงสุกรอย่าง ถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำรายได้ให้กับครอบครัว และยังจะได้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรให้ได้ผลดีด้วย
ปัจจัยที่จะทำให้การเลี้ยงสุกรประสบความสำเร็จประกอบด้วย
สุกรพันธุ์ดี อาหารดี โรงเรือนดี การจัดการเลี้ยงดูดี การป้องกันโรคดี





การเลี้ยงสุกรเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี สามารถคืนทุนได้ภายในเวลา 6 เดือน    
        แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามการใช้ประโยชน์ คือ
ประเภทมัน เป็นสุกรรูปร่างตัวสั้น อ้วนกลม มีมันมาก สะโพกเล็ก โตช้า เช่น สุกรพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย
ประเภทเนื้อ รูปร่างจะสั้นกว่าพันธุ์เบคอน ไหล่และสะโพกใหญ่ เด่นชัด ลำตัวหนาและลึก ได้แก่ พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ เบอร์กเชียร์ แฮมเเชียร์ เป็นต้น
ประเภทเบคอน รูปร่างใหญ่ ลำตัวยาว มีเนื้อมาก ไขมันน้อย ความหนาและความลึกของลำตัวน้อยกว่าประเภทเนื้อ ได้แก่ พันธุ์แลนด์เรซ ลาร์จไวท์ เป็นต้น
พันธุ์สุกรจากต่างประเทศ และพันธุ์สุกรพื้นเมืองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ตามรายละเอียด ดังนี้

      @ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ นำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 มีสีขาว หูตั้ง ลำตัวยาว กระดูกใหญ่ โครงใหญ่ หน้าสั้น หัวใหญ่ โตเต็มที่น้ำหนัก 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว คุณภาพซากดี พันธุ์ลาร์จไวท์ เหมาะที่ใช้เป็นทั้งสายพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
    พันธุ์ลาร์จไวท์       
       มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ค นำเข้ามาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2506 มีสีขาว หูปรก ลำตัวยาว มีซี่โครงมากถึง 16-17 คู่ (สุกรปกติมีกระดูกซี่โครง 15-16 คู่) หน้ายาว โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีข้อเสียคือ อ่อนแอ มักจะมีปัญหาเรื่องขาอ่อน ขาไม่ค่อยแข็งแรง แก้ไขโดยต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพดี พันธุ์แลนด์เรซเหมาะที่ใช้เป็นสายแม่พันธ
    พันธุ์แลนด์เรซ      
      @มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกา มีสีแดง หูปรกเป็นส่วนใหญ่ ลำตัวสั้นกว่าลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ลำตัวหนา หลังโค้ง โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม เป็นสุกรที่ให้ลูกไม่ดกเฉลี่ย 8-9 ตัว เลี้ยงลูกไม่เก่ง หย่านมเฉลี่ย 6-7 ตัว ลูกสุกรหลังจากอายุ 2 เดือนไปแล้ว เจริญเติบโตเร็ว มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศทุกชนิด นิยมใช้เป็นสายพ่อพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมที่สวยงาม แผ่นหลังกว้าง เจริญเติบโตเร็ว
  พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่     
       มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศเบลเยี่ยม มีสีดำขาวเหลือง ลายสลับ เป็นสุกรที่มีรูปร่างสวยงาม กล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ แผ่นหลังกว้างเป็นปีก สะโพกเห็นเด่นชัด โตเต็มที่ 150-200 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูงมาก มีข้อเสีย คือ ตื่นตกใจช็อคตายง่าย และโตช้า ปัจจุบันนิยมใช้ผสมข้ามพันธุ์ในการผลิตสุกรขุน
   พันธุ์เปียแตรง     
  สุกรพื้นเมือง            @ เป็นสุกรที่เลี้ยงอยู่ตามหมู่บ้านชนบทพวกชาวเขา ลักษณะโดยทั่วไป จะมีขนสีดำ ท้องยาน หลังแอ่น การเจริญเติบโตช้า ให้ลูกดก และเลี้ยงลูกเก่ง จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น สุกรพันธุ์ไหหลำ พันธุ์ควาย พันธุ์ราด พันธุ์พวง สุกรป่า เป็นต้น
สุกรพันธุ์ไหหลำ
เลี้ยงตาม ภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย มีสีดำปนขาว ตามลำตัวจะมีสีดำ ท้องมักมีสีขาว จมูกยาวและแอ่นเล็กน้อย คางย้อย ไหล่กว้าง หลังแอ่น สะโพกเล็ก มีอัตราการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ได้ดีกว่าสุกรพื้นเมืองอื่น ๆ แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 100-120 กิโลกรัม
สุกรพันธุ์ราดหรือพวง
สุกรพันธุ์ ราดหรือพวง เลี้ยงตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ มีขนสีดำตลอดตัว มีสีขาวปนแซมบ้างเล็กน้อย จมูกยาว ลำตัวสั้นป้อม หลังแอ่น ใบหูตั้งเล็ก ผิวหนังหยาบ แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม
สุกรพันธุ์ควาย
สุกรพันธุ์ควาย เลี้ยงตามภาคเหนือและภาคกลาง มีลักษณะคล้ายสุกรไหหลำ แตกต่างกันที่พันธุ์ควายจะมีสีดำ สุกรพันธุ์ควายมีหูใหญ่ ปรกเล็กน้อย มีรอยย่นตามตัว เป็นสุกรที่มีขนาดใหญ่ กว่าสุกรพื้นเมืองพันธุ์อื่น แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม
สุกรป่า
เลี้ยงตาม ภาคต่าง ๆ ทั่วไป มีขนหยาบแข็ง สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเข้ม หรือสีดอกเลา หนังหนา หน้ายาว จมูกยาวและแหลมกว่าสุกรพื้นเมือง ขาเล็กและเรียว ดูปราดเปรียว ที่พบมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น แม่สุกรโตเต็มที่หนักประมาณ 80 กิโลกรัม
สุกรพันธุ์แฮมเชียร์
สุกรพันธุ์เหมยซาน
         นอกจากนี้ก็มีสุกรพันธุ์แฮมเชียร์ เบอร์กเชียร์ และเหมยซาน ที่นำเข้ามาทดลองเลี้ยงดูในประเทศไทย แต่ไม่นิยมเลี้ยงแพร่หลาย ที่นิยมเลี้ยงกันมากมีเพียง 3 พันธุ์เท่านั้น คือ ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ และดูร็อคเจอร์ซี่ ส่วนสุกรลูกผสมที่ผลิตเป็นสุกรขุน นิยมใช้สุกร 3 สายพันธุ์ คือ ดูร็อคเจอร์ซี่ x แลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ (โดยใช่พ่อพันธุ์แท้ดูร็อคเจอร์ซี่ และแม่ลูกผสมแลนด์เรซ-ลาร์จไวท์)
สุกรลูกผสมที่เหมาะสมในการใช้เลี้ยงสุกรขุน
         การเลี้ยงสุกรพันธุ์แท้พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นจึงนิยมนำพันธุ์แท้มาผสมข้ามพันธุ์ เพื่อทำให้ลูกที่เกิดขึ้นมีลักษณะของเฮตเตอร์โรซีส ( Heterosis) หรือ ไฮบริดวิกเกอร์ (Hybrid Vigor) หรือ เรียกว่าพลังอัดแจ กล่าวคือ ตัวลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างพันธุ์กันนำมาผสมพันธุ์จะให้ผลผลิต เช่น การเจริญเติบโต ความแข็งแรง ดีกว่าค่าเฉลี่ยของการให้ผลผลิตจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ให้กำเนิด สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์ สามสายพันธุ์ หรือสี่สายพันธุ์ สามารถนำมาใช้เป็นสุกรขุนได้เช่นกัน แต่สากลนิยมทั่วไปมักใช้สุกรลูกผสมสามสายพันธุ์เป็นสุกรขุน คือ ดูร็อคเจอร์ซี่ x แลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ โดยใช้แม่สองสายพันธุ์ คือ แลนด์เรซ x ลาร์จไวท์ หรือ ลาร์จไวท์ x แลนด์เรซ ซึ่งถือว่าเป็นนสายแม่พันธุ์ที่มีคุณสมบัติการผลิตลูกดีที่สุด ส่วนพ่อสุดท้ายจะใช้พ่อพันธุ์แท้เป็นพันธู์ดูร็อคเจอร์ซี่ หรือ อีกทางให้เลือกคือ ใช้พ่อพันธุ์แท้เป็นพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ หรืออีกทางให้เลือก คือ ใช้พ่อพันธุ์แท้ เช่น ดูร็อคเจอร์ซี่ ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ ผสมกับแม่พันธุ์แท้ เช่น พันธุ์แลนด์เรซ ลาร์จไวท์ ดูร็อคเจอร์ซี่ จะได้ลูกผสมสองสายพันธุ์ใช้เป็นสุกรขุนได้ตามแผนผังด้านล่าง

สุกรลูกผสมสายสามพันธุ์เพื่อใช้เป็นสุกรขุน
แลนด์เรซ (เพศเมีย)
ลาร์จไวท์ (เพศผู้)
แลนด์เรซ 50% ลาร์จไวท์ 50% (เพศผู้)
ดูร็อคเจอร์ซี่ (เพศเมีย)
ตัวเมียใช้ทำเป็นพ่อพันธุ์สองสายพันธุ์
ตัวผู้ ให้ตอนเลี้ยงเป็นสุกรขุน
ดูร็อคเจอร์ซี่ x แลนด์เรซ - ลาร์จไวท์
ลูกผสม 3 สายพันธุ์ เพื่อใช้เป็นสุกรขุน

สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์เพื่อใช้เป็นสุกรขุน
ดูร็อคเจอร์ซี่
แลนด์เรซ
ดูร็อคเจอร์ซี่ 50% แลนด์เรซ 50%
สาย พ่อใช้พันธุ์อื่นก็ได้ แต่เกษตรกร มักนิยมใช้พ่อดูร็อคเจอร์ซี่ ส่วนแม่พันธุ์จะใช้พันธุ์อื่นก็ได้ เช่น แลนด์เรซ , ลาร์จไวท์ เป็นต้น
ลูกผสมที่ใช้เป็นสุกรขุน
         การใช้สุกรขุนสองสายพันธุ์ ใช้ในกรณีที่เรามีแม่พันธุ์แท้อยู่แล้ว สุกรสองสายพันธุ์สามารถใช้เป็นสุกรขุนได้เป็นอย่างดี จะขึ้นอยู่กับพ่อสุดท้าย ถ้าเป็นพ่อพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ มักจะให้ลูกสองสายพันธุ์ที่แข็งแรงกว่า อย่างไรก็ตามการผลิตสุกรขุนสองสายพันธุ์ จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าสุกรลูกผสมสามสายพันธุ์ เนื่องจากแม่สุกรพันธุ์แท้จัดหาซื้อมาในราคาที่แพงและมักจะอ่อนแอกว่าแม่ สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์

หลักในการปรับปรุงพันธุ์สุกรนั้นมี 2 ข้อดังนี้
การคัดเลือกพันธุ์
         สุกรที่จะใช้ทำพันธุ์นั้นจะคัดเลือกจากลักษณะภายนอกและจากพันธุ์ประวัติ การคัดเลือกจากลักษณะภายนอก เช่น รูปร่างลักษณะ ถูกต้องตามสายพันธุ์ พิจารณาความแข็งแรงของขา ขาไม่แอ่นเหมือนตีนเป็ด ลำตัวยาว อวัยวะเพศปกติ เต้านมไม่ต่ำกว่า 12 เต้า หัวนมไม่บอด ส่วนจากพันธุ์ ดูอัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ความหนาไขมันสันหลัง และผลผลิตจากแม่พันธุ์ (ลูกดก)
การผสมพันธุ์
         เมื่อคัดเลือกพันธุ์ได้แล้วก็นำมาผสมพันธุ์เพื่อผลิตลูกต่อไป อย่างไรก็ตามจำเป็นจะต้องนำสุกรจากที่อื่นเข้ามาปรับปรุงด้วย เพื่อป้องกันเลือดชิด สุกรเพศผู้จะเริ่มใช้ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 7-8 เดือน น้ำหนักประมาณ 100-120 กิโลกรัม สุกรแม่พันธุ์ควรจะให้ลูกครอกแรกเมื่ออายุได้ 1 ปี แม่สุกรเป็นสัดแต่ละรอบ ระยะเวลาห่างกัน 21 วัน ตั้งท้อง 114 วัน ควรทำการผสมแม่พันธุ์ 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชั่วโมง (เช้า-เช้า หรือ เย็น-เย็น) หรือมากกว่า 2 ครั้ง ยิ่งดีโดยเริ่มผสมพันธุ์ในวันที่สองของการเป็นสัด
         แม่สุกรที่คลอดลูกแล้ว ควรหย่านมเมื่อลูกอายุ 4 สัปดาห์ และแม่สุกรจะเป็นสัดหลังจากหย่านมภายใน 3-10 วัน ทำการผสมพันธุ์ต่อได้เลย แม่สุกรควรให้ลูกปีละไม่ต่ำกว่า 2 ครอก และผลิตลูกได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตัว/แม่/ปี ในแม่สุกรพันธุ์แท้ ส่วนแม่สุกรลูกผสม (แลนด์เรซ - ลาร์จไวท์) ควรผลิตลูกได้ไม่ต่ำกว่า 18 ตัว/แม่/ปี แม่สุกรที่ผสมไม่ติดเกิน 3 ครั้ง ควรคัดออกจากฝูง
การผสมพันธุ์
มี 2 วิธี
1. ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
2. ผสมเทียม
         โดยใช้พ่อพันธุ์ผสมกับแม่พันธุ์ ในอัตราส่วน 1:10 พ่อพันธุ์สามารถใช้ ผสมพันธุ์จนถึงอายุ 3-4 ปี          โดยการฉีดน้ำเชื้อสุกรตัวผู้เข้าในอวัยวะเพศเมีย ในขณะที่ตัวเมียเป็นสัดเต็มที่ ในปัจจุบันฟาร์มสุกรขนาดใหญ่และขนาดกลางนิยมใช้การผสมเทียมมาก เนื่องจากมีข้อดีหลายข้อ เช่น ได้พ่อพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ประหยัดค่าอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อพันธุ์ ผสมเทียมใช้พ่อพันธุ์กับแม่พันธุ์ในอัตราส่วน 1: 50 และเกษตรกรรายย่อยสามารถทำการผสมเทียมเองได้ วิธีการผสมเทียมง่ายและสะดวก หน่วยงานของกรมปศุสัตว์ เช่น ศูนย์วิจัยการผสมเทียมมีบริการผสมเทียมในสุกร ซึ่งจำหน่ายน้ำเชื้อสุกรในราคาถูก  
  

2 ความคิดเห็น:

  1. สุกรที่ผสมเทียมแล้วสองวันฉีดยาแก้อักเสบได้ไหม

    ตอบลบ
  2. หาซื้อน้ำชื้อได้ที่ใหนจ๊ะ

    ตอบลบ