ราคาสุกรหน้าฟาร์มวันนี้

ค้นหาข้อมูลย้อนหลัง
ประเภทสินค้า / ชื่อสินค้า รายละเอียด ราคา หน่วยนับ ตลาด วันที่
สุกร
สุกรขุน สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 57.00 บาท/กก. เค พี ฟาร์ม อ.เมือง จ.นครปฐม 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 57.00 บาท/กก. ที เค ฟาร์ม อ.เมือง จ.นครปฐม 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 58.00 บาท/กก. เค เอส ฟาร์ม อ.สามพราน จ.นครปฐม 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 58.00 บาท/กก. เล่งเค็งฟาร์ม อ.เมือง จ.นครปฐม 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 60.00 บาท/กก. กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรบ้านปากพิงตะวันออก อ.เมือง จ.พิษณุโลก 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 60.00 บาท/กก. ศิริสมานฟาร์ม อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 60.00 บาท/กก. ฟาร์มหมูปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 61.00 บาท/กก. บุญมีฟาร์ม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 61.00 บาท/กก. จรูญฟาร์ม อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 61.00 บาท/กก. ตลาดสุรนคร อ.เมือง จ.นครราชสีมา 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 61.00 บาท/กก. บ.ก้าวหน้าปศุสัตว์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. ร้านเทพบุตร อ.เมือง จ.เชียงราย 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. อลงกรณ์ฟาร์ม อ.พาน จ.เชียงราย 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. สุพัฒน์ฟาร์ม อ.เมือง จ.พะเยา 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. บริษัท บุรีรัมย์ฟาร์ม จำกัด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. สดใสฟาร์ม อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. สินทวีฟาร์ม อ..เมือง จ.ศรีสะเกษ 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. บ.ตรังวัฒนาฟาร์ม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 62.00 บาท/กก. ภักดีฟาร์ม อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 63.00 บาท/กก. สหไทยฟาร์ม อ.เมือง จ.มุกดาหาร 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 63.00 บาท/กก. ขุนทะเลฟาร์ม อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 63.00 บาท/กก. เล็กฟาร์ม อ.เมือง จ.ยะลา 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 63.00 บาท/กก. สมาคมผู้เลี้ยงสุกร ภาคใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 64.00 บาท/กก. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 65.00 บาท/กก. หจก.เค.ที.อาร์ฟาร์ม อ.แม่ทา จ.ลำพูน 2012-06-05
สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม 65.00 บาท/กก. ชัยภูมิฟาร์ม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 2012-06-05
ลูกสุกรขุนน้ำหนัก 16 กก. 1,500.00 บาท/ตัว ศิริสมานฟาร์ม อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 2012-06-05
น้ำหนัก 16 กก. 1,500.00 บาท/ตัว จรูญฟาร์ม อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 2012-06-05
น้ำหนัก 16 กก. 1,500.00 บาท/ตัว กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรบ้านปากพิงตะวันออก อ.เมือง จ.พิษณุโลก 2012-06-05
น้ำหนัก 16 กก. 1,600.00 บาท/ตัว บุญมีฟาร์ม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 2012-06-05

Update ราคาหมู

 

ประจำวันที่ 4 มิถุนายน 2555
  ราคา สุกรเนื้อ
  สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ 0.00 (0)
  ราชบุรี 56.00 (-2.5)
  นครปฐม 59.00 (0)
  ฉะเชิงเทรา 58.00 (-1)
  ชลบุรี 58.00 (-1)
  อีสาน 58.00 (-4)
  เชียงใหม่ 62.00 (-2)
  ศรีราชา 58.00 (-3)
  สุราษฎร์ธานี 62.50 (-2)
  สงขลา 65.50 (+1)
  ซี.พี 0.00 (0)
  โรงงานบางคล้า 0.00 (0)
  ลูกสุกร 1,500.00 +- 57.00

แนวโน้มสุกร

สุกร

วันที่ 31 พ.ค. 2555
 
 
 

สุกร

ราคาที่เกษตรกรขายได้ 61.60 บาท/กิโลกรัม

การผลิตสุกร ปี 2554-2555

รายการ

การผลิตสุกร

%การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ปี 2554

2554

2555

ผลผลิต (ตัน)*

11,889,845

12,146,460

2.16

*หมายเหตุ : ข้อมูล เดือนธันวาคม 2554
 
 ปฏิทินการผลิต (ร้อยละช่วงเดือนที่เก็บเกี่ยวผลผลิต)

พ.ค

มิ.ย.

ก.ค.

8.25

8.20

8.10

 

สถานการณ์ราคา

        ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ ในสัปดาห์ที่ 4 เดือนพฤษภาคม 2555 (วันที่ 28พฤษภาคม 3 มิถุนายน 2555 ) อยู่ที่ กิโลกรัมละ 61.60 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ  62.40 บาท  คิดเป็นร้อยละ 1.28  ในเดือนมิถุนายนคาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวน  996,010 ตัว

ภาวะราคาหมู

ประจำเดือน มิถุนายน 2555
หน่วยงาน 28/05/12 04/06/12 ราคาเฉลี่ย
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ 0.00 0.00 0.00
ราชบุรี 58.50 56.00 57.25
นครปฐม 59.00 59.00 59.00
ฉะเชิงเทรา 59.00 58.00 58.50
ชลบุรี 59.00 58.00 58.50
อีสาน 62.00 58.00 60.00
เชียงใหม่ 64.00 62.00 63.00
ศรีราชา 61.00 58.00 59.50
สุราษฎร์ธานี 64.50 62.50 63.50
สงขลา 64.50 65.50 65.00
ซี.พี 0.00 0.00 0.00
โรงงานบางคล้า 0.00 0.00 0.00
ลูกสุกร 1,500.00 +- 59.00 1,500.00 +- 57.00 1,500.00

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงดูสุกร

การจัดการพ่อสุกร
          พ่อสุกรที่จะนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือนขึ้นไป ให้อาหารโปรตีน 16 % ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสภาพของพ่อสุกรด้วยว่าไม่อ้วนและผอมเกินไป
การจัดการแม่สุกร
          ให้อาหารโปรตีน 16% ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม แม่สุกรสาวควรมีอายุ 7-8 เดือน น้ำหนัก 100-120 กิโลกรัม จึงนำมาผสมพันธุ์ (เป็นสัดครั้งที่ 2-3) ผสมพันธุ์ 2 ครั้ง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น) เมื่อผสมพันธุ์แล้วควรลดอาหารให้เหลือ 1.5-2 กิโลกรัม เมื่อตั้งท้องได้ 90-108 วัน ควรเพิ่มอาหารเป็น 2-2.5 กิโลกรัม และเมื่อตั้งท้องได้ 108 วันคลอดลูก ให้ลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม (ปกติสุกรจะตั้งท้องประมาณ 114 วัน) แม่สุกรควรอยู่ในสภาพปานกลาง คือ ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป แม่สุกรจะให้ลูกดีที่สุดในครอกที่ 3-5 และควรคัดแม่สุกรออกในครอกที่ 7 หรือ8 (แม่สุกรให้ลูกเกินกว่าครอก ที่ 7 ขึ้นไป มักจะให้จำนวนลูกสุกรแรกคลอด มีชีวิต และจำนวนสุกรหย่านมลดลง)
การจัดการแม่สุกรก่อนคลอด ระวังอย่าให้แม่สุกรเจ็บป่วยหรือท้องผูก ควรจัดการ ดังนี้
     แม่สุกรก่อนคลอด 7 วัน ให้อาบน้ำด้วยสบู่ทำความสะอาดแม่สุกร โดยเฉพาะราวนม บั้นท้าย อวัยวะเพศ แล้วพ่นอาบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (ละลายน้ำ ตามอัตราส่วน) และพ่นยาพยาธิภายนอก แล้วนำเข้าคอกคลอด
     ก่อนแม่สุกรคลอด 4 วัน ควรลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม/วัน ควรผสมรำละเอียดเพิ่มอีก 20 % ในอาหาร โดยให้แม่สุกรกิน 4-6 วันก่อนคลอด หรือผสมแม็กนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) ประมาณ 10 กรัม โดยคลุกอาหารให้ทั่วให้แม่สุกรกินวันละครั้ง 1-3 วันก่อนคลอด เพื่อป้องกันแม่สุกรท้องผูก ช่วยลดปัญหาแม่สุกรคลอดยาก
     ดูแลแม่สุกรอย่างใกล้ชิด อย่าให้แม่สุกรป่วย เช่น สังเกตรางอาหารว่าแม่สุกรกินอาหารหมดหรือไม่ ถ่ายอุจจาระเป็นเม็ดกระสุน ท้องเสีย หอบแรง เป็นต้น ถ้าแม่สุกรป่วยก็ควรรักษาตามอาการ
     คอกคลอด ก่อนนำแม่สุกรเข้าคอกคลอด คอกคลอดต้องสะอาด ราดหรือพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และโรยปูนขาว ต้องมีอาการพักคอกไว้อย่างน้อย 7 วัน ซึ่งจะเป็นการตัดวงจรของเชื้อโรค
การจัดการลูกสุกรเมื่อคลอด
          แม่สุกรก่อนคลอด 24 ชั่วโมง จะมีน้ำนมไหลออกมาจากเต้านม ลูกสุกรแรกคลอดควรดูแลปฏิบัติ ดังนี้
     ใช้ผ้าที่สะอาดหรือฟางเช็ดตัวลูกสุกรให้แห้ง ควักเอาน้ำเมือกในปากและในจมูกออก
     การตัดสายสะดือ ใช้ด้ายผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 1-2 นิ้ว ตัดสายสะดือด้วยกรรไกร ทารอยแผลด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค
     ตัดเขี้ยวออกให้หมด (เขี้ยวมี 8 ซี่ ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ) เพื่อป้องกันลูกสุกรกัดเต้านมแม่สุกรเป็นแผลในขณะแย่งดูดนม
     รีบนำลูกสุกรกินนมน้ำเหลืองจากเต้านมแม่สุกรในนมน้ำเหลืองจะมีสารอาหาร และภูมิคุ้มกันโรค ปกตินมน้ำเหลืองจะมีอยู่ประมาณ 36 ชั่วโมง หลังคลอด จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมธรรมดา
การจัดการลูกสุกรแรกคลอด-หย่านม
     ลูกสุกรในระยะ 15 วันแรก ต้องการความอบอุ่น ต้องจัดหา
     ลูกสุกรอายุ 1-3 วัน ให้ฉีดธาตุเหล็กเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 2 ซี.ซี เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง
     ลูกสุกรอายุ 10 วัน เริ่มให้อาหารสุกรนมหรืออาหารสุกรอ่อน (อาหารเลียราง) เพื่อฝึกให้ลูกสุกรกินอาหาร โดยให้กินทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง
     ลูกสุกรทั่วไปหย่านมเมื่ออายุ 28 วัน (4 สัปดาห์)
ไฟกกลูกสุกร
กล่องกระสอบ

การจัดการลูกสุกรเมื่อหย่านม
     หย่านมลูกสุกรเมื่ออายุ 28 วัน น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม ควรย้ายแม่สุกรออกไปก่อนให้ลูกสุกรอยู่ในคอกเดิมสัก 3-5 วัน แล้วจึงย้ายลูกออกไปคอกอนุบาล เพื่อป้องกันลูกสุกรเครียด และควรใช้วิตามินหรือยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้ลูกสุกรกินหลังจากหย่านมประมาณ 3-5 วัน
     ลูกสุกรอายุ 6 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกรและฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์(วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 6-12 เดือน)
     ลูกสุกรอายุ 7 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย่ และฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 4-6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ (วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 4-6 เดือน)
     ลูกสุกรอายุ 2 เดือนครึ่ง ควรให้ยาถ่ายพยาธิ และให้ซ้ำหลักจากให้ครั้งแรก 21 วัน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ควรถ่ายพยาธิทุก ๆ 6 เดือน
การจัดการแม่สุกรหลังคลอด
     ฉีดยาปฏิชีวนะ ให้แม่สุกรหลังคลอดทันทีติดต่อกันเป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อป้องกันมดลูกอักเสบ (ยาเพนสเตร็ป, แอมพิซิลิน, เทอร์รามัยซิน เป็นต้น
     หลังคลอด 1-3 วัน ควรให้อาหารแม่สุกรน้อยลง(วันละ 1-2 กิโลกรัม) และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนให้อาหารเต็มที่เมื่อหลังคลอด 14 วัน (ให้อาหารวันละ 4-6 กิโลกรัม) จนกระทั่งแม่สุกรหย่านม ระวังอย่าให้แม่สุกรผอมเมื่อหย่านม ซึ่งจะมีผลทำให้แม่สุกรไม่สมบูรณ์พันธุ์ และโทรมมาก แม่สุกรหลังหย่านมควรขังรวมกันคอกละประมาณ 2-5 ตัว (ขนาดใกล้เคียงกัน) เพื่อให้เกิดความเครียดจะเป็นสัดง่ายและจะเป็นสัดภายใน 3-10 วัน ถ้าแม่สุกรเป็นสัดทำให้การผสมพันธุ์ได้เลย
     ปัญหาแม่สุกรไม่เป็นสัด สุกรสาวหรือเม่สุกรหลังจากหย่านมแล้วไม่เป็นสัด หรือเป็นสัดเงียบ จะพบเห็นได้บ่อย ๆ มีวิธีแก้ไข ดังนี้
              1. ต้อนแม่สุกรมาขังรวมกัน เพื่อให้เกิดความเครียด
              2. เลี้ยงพ่อสุกรอยู่ใกล้ ๆ หรือให้พ่อสุกรเข้ามาสัมผัสแม่สุกรบ้าง .
การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกดก
              1. คัดเลือกสายแม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ลาร์จไวท์ แม่พันธุ์แลนด์เรซ หรือลูกผสมแลนด์เรซ-ลาร์จไวท์
              2. ผสมเมื่อแม่สุกรเป็นสัดเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ไข่ตกมากจะอยู่ช่วงวันที่ 2-3 ของการะเป็นสัด ผสม 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชี่วโมง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น)
              3. ถ้ามีพ่อสุกรหลายตัว และผลิตสุกรขุนเป็นการค้าควรใช้พ่อสุกร
              4. แม่สุกรหลังจากหย่านมแล้ว 1 วัน ควรเพิ่มอาหารให้จนกระทั่งเป็นสัด โดยให้อาหารวันละ 3-4 กิโลกรัม (ไม่เกิน 15 วัน) เพื่อทำให้ไข่ตกมากขึ้น และเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ให้ลดอาหารแม่สุกรลงเหลือวันละ 1.5-2 กิโลกรัม ตามปกติ

         สุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อใยมากได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวม (โค กระบือ) ระบบการย่อยอาหารที่มีหน้าที่ย่อยอาหารที่สุกรกินเข้าไปให้แตกตัวจนมีขนาดเล็กลง เพื่อสามารถดูดซึมไปใช้เสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สุกรมีความต้องการโภชนะนั้น หมายถึง สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายประกอบด้วย 6 ชนิด
         น้ำ ให้น้ำสะอาดแก่สุกรตลอดเวลา ปกติสุกรจะกินน้ำประมาณ 5-20 ลิตรต่อวัน ตามขนาดของสุกร
         โปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสุกร ช่วยสร้างเนื้อเยื่อและเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของร่างกายสัตว์ โปรตีนประกอบด้วย กรดอะมิโนอยู่ประมาณ 30 ชนิด กรดอะมิโนที่จำเป็น 10 ชนิด ได้แก่ ไลซีน เมทไธโอนีน ทริพโตแฟน อาร์ยินิน ฮิสทิดีน ไอโซลูซีน ลูซีน อาลานีน ทรีโอนีน และวาลีน
         คาร์โบไฮเดรท เป็นอาหารที่ให้พลังงานที่เรียกง่าย ๆ ว่าอาหารแป้งและน้ำตาล รวมไปถึงเยื่อใยที่เป็นส่วนประกอบในวัตถุดิบอาหารสัตว์
         ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงาน เช่น เดียวกับคาร์โบไฮเดรด แต่ให้พลังงาน
         แร่ธาตุ แร่ธาตุเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด สำหรับการทำงานของร่างกาย มีหน้าที่เสริมสร้างกระดูก และต้านโรค ในร่างกายสุกรมีแร่ธาตุ มากกว่า 40 ชนิด ส่วนที่จำเป็นและสำคัญต่อร่างกาย ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม คลอรีน เหล็ก ทองแดง ไอโอดีน กำมะถัน สังกะสี แมงกานีส โคบอลท์ โปตัสเซียม แมกนีเซียม และซิลิเนียม
         ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต ไวตามินมีมากถึง 50 ชนิด ส่วนที่จำเป็นในร่างกายสัตว์ ได้แก่ ไวตามิน เอ ดี อี บี 2 (ไรโบฟลาวิน) ไนอาซีน กรดแพนโทธินิค โคลีน ไบโอติน และบี 12 เป็นต้น
วัตถุดิบอาหารสัตว์
1.อาหารประเภทโปรตีน ได้มาจากพืชและสัตว์ มีรายละเอียด ดังนี้ อาหารโปรตีนที่ได้จากพืช ได้แก่
         กากถั่วเหลือง เป็นอาหารโปรตีนจากพืชที่ดีที่สุด ได้มาจากถั่วเหลืองทีสกัดน้ำมันออก มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 40-44 % ใช้เป็นอาหารสุกรในรูปของกากถั่วเหลืองอัดน้ำมัน (แผ่นเค็ก) โปรตีนจากกากถั่วเหลืองมีกรดอะมิโนที่จำเป็นสมดุลย์ เหมาะในการใช้เลี้ยงสุกรทุกระยะการเจริญเติบโตในเมล็ดถั่วเหลืองดิบไม่เหมาะ แก่การนำมาใช้เลี้ยงไก่ และสุกร ทั้งนี้เพราะเมล็ดถั่วเหลืองดิบมีสารพิษชนิดที่เรียกว่า " ตัวยับยั้งทริปซิน" (Trypsin inhibitor) อยู่ด้วย สารพิษนี้จะมีผลไปขัดขวางการย่อยโปรตีนในทางเดินอาหารถั่วเหลืองที่เหมาะ สำหรับใช้ผสมอาหารเลี้ยงสุกรนม อาหารครีพฟีด อาหารสุกรอ่อน อาหารสุกรเล็ก ได้แก่ ถั่วเหลืองอบไขมันสูง (ถั่วเหลืองซึ่งผ่านขบวนการอบให้สุก โดยไม่ได้สกัดน้ำมันออกมี โปรตีน 38 % ) ส่วนสุกรเล็กและสุกรขนาดอื่นทั่วไปนิยมใช้กากถั่วเหลืองสกัดน้ำมันด้วยสาร เคมี
         กากถั่วลิสง เป็นผลิตผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออก มีโปรตีนอยู่ประมาณ 40% กากใช้กาถั่วลิสงอย่างเดียวในอาหารจะทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า เนื่องจากความไม่สมดุลย์ของกรดอะมิโน ดังนั้น จึงควรใช้กากถั่วลิสง ถ้ามีความชื้นสูงจะเสียเร็วเนื่องจากถั่วลิสงเป็นพืชที่มีน้ำมันมาก จึงเก็บไว้นานไม่ได้ จะเกิดอาการเหม็นหืนและมีราเกิดได้ง่าย ซึ่งราจะสร้างสารพิษ "อะฟลาท็อกซิน" ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์ ดังนั้นควรจะเลือกใช้แต่กากถั่วลิสงที่ใหม่ มีไขมันต่ำ และควรเก็บไว้ในที่ไม่ร้อนและชื้น
         กากเมล็ดฝ้าย เป็นผลผลิตพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดฝ้าย จะมีโปรตีนประมาณ 40-45 เปอร์เซ็นต์ การเมล็ดฝ้ายมีสารพิษที่มีชื่อว่า "ก๊อสซิปอล" ซึ่งเป็นสารที่ละลายในน้ำมัน จึงเป็นเหตุให้การใช้อยู่ในขีดจำกัดไม่ควรเกิน 10 % การใช้ในระดับสูงจะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง นอกจากนี้การใช้กากเมล็ดฝ้ายควรจะเติมกรดอะมิโนไลซีนสังเคราะห์ลงไปด้วย
         กากมะพร้าว เป็นวัตถุพลอยได้จากโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าว ถ้าอัดน้ำมันออกใหม่ ๆ จะมีกลิ่นหอมน่ากิน มีโปรตีนประมาณ 20% ถ้าใช้กากมะพร้าวในระดับสูงเลี้ยงสุกรระยะการเจริญเติบโตและขุน จะทำให้การเจริญเติบโตของสุกรช้า ดังนั้นควรจะใช้ในระดับ 10-15 %
         กากเมล็ดนุ่น เมื่อสกัดน้ำมันออกแล้วจะมีโปรตีนประมาณ 20% เหมาะที่จะใช้เลี้ยงสุกรรุ่นมากกว่าสุกรระยะอื่น ในปริมาณไม่เกิน 15% กากเมล็ดนุ่นจะทำให้ไขมันจับแข็งตามอวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ เช่น ลำไส้ เป็นต้น
1.2 อาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์ ได้แก่
         ปลาป่น เป็นอาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์ที่ดีที่สุด มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 50-60 % คุณภาพของปลาป่นขึ้นอยู่กับชนิดของปลาที่ใช้ทำปลาป่น และสิ่งอื่นปะปนมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งกรรมวิธีการผลิตปลาป่น เช่น ถ้าให้ความร้อนสูง ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง ปริมาณกรดอะมิโนในปลาป่นจะต่ำลงเรื่อย ๆ ปลาป่นมีคุณค่าทางอาหารสุงและใช้เลี้ยงสุกรตลอดระยะถึงส่งตลอดระยะถึงส่ง ตลาดจะทำให้เนื้อมีกลิ่นคาวจัด ดังนั้นจึงควรใช้ในระหว่าง 3-15 %
         เลือดแห้ง ได้จากโรงฆ่าสัตว์ มีโปรตีนค่อนข้างสูง 80% เป็นโปรตีนที่ย่อยยาก ทำให้การเจริญเติบโตของสุกรต่ำลง ควรใช้ร่วมกับอาหารโปรตีนชนิดอื่น ๆ ไม่ควรเกิน 5%
         หางนมผง มีโปรตีนปริมาณ 30-40 % และเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายแต่มีราคาแพง จึงนิยมใช้กับอาหารลูกสุกรเท่านั้น
         ขนไก่ป่น เป็นอาหารที่ได้จากผลิตผลพลอยได้จากโรงงานฆ่าไก่ มีโปรตีนค่อนข้างสูงถึง 85% แต่มีคุณค่าทางอาหารเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ไม่สามารถย่อยได้
2. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท(แป้งและน้ำตาลให้พลังงาน)
         ปลายข้าว ปลายข้าวและรำละเอียดเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสีข้าว ปลายข้าวมีโปรตีน 8% เป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะในการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ปลายข้าวประกอบไปด้วยแป้งที่ย่อยง่ายเป็นส่วนใหญ่ มีไขมันและเยื่อใยระดับด่ำ (1.0 %) เก็บไว้ได้นาน ตรวจสอบการปลอมปนได้ง่าย ปลายข้าวที่ใช้เลี้ยงสุกร ควรเป็นปลายข้าวเม็ดเล็กปลายข้าวที่มีขนาดใหญ่ควรจะต้องบดให้มีขนาดเล็กลง ก่อน แล้วจึงค่อยผสมอาหาร นอกจากนี้ยังมีปลายข้าวนึ่ง (ข้าวเปลือกที่เปียกน้ำ หรือมีความชื้นสูง นำมาอบเอาความชื้นออก สีเอาเปลือกออก ปลายข้าวนึ่งมีสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวปนเหลือง) นำมาเลี้ยงสุกรทดแทนปลายข้าวได้ แต่ต้องพิจารณาเรื่องคุณภาพด้วย เช่น การปนของเมล็ดข้าวสีดำ ซึ่งเมล็ดข้าวสีดำมีคุณภาพไม่ดี
         รำละเอียด มีโปรตีนประมาณ 12% รำละเอียดมีไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และเป็นไขมันที่หืนได้ง่ายในสภาวะที่อากาศร้อน หากเก็บไว้เกิน 60 วัน ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ รำละเอียดมักจะมีการปลอมปนด้วยแกลบป่น ละอองข้าวหรือดินขาวป่น ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง ถ้าเป็นรำข้าวนาปรังควรระวังเรื่องยาฆ่าแมลงที่ปะปนมาในระดับสูง รำสกัดน้ำมันได้จากการนำเอารำละเอียดไปสกัดเอาไขมันออกใช้ทดแทนรำละเอียดได้ ดีแต่ต้องระวังเรื่องระดับพลังงาน เพราะรำสกัดน้ำมันมีค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้ต่ำกว่ารำละเอียด รำละเอียดมีเยื่อใยเป็นส่วนประกอบในระดับสูง จึงมีลักษณะฟ่าม ไม่ควรใช้เกิน 30% ในสูตรอาหารรำละเอียดมีคุณสมบัติเป็นยาระบาย โดยเฉพาะสูตรอาหารแม่สุกรอุ้มท้องและเลี้ยงลูก จะช่วยลดปัญหาแม่สุกรท้องผูก
         ข้าวโพด มีโปรตีนประมาณ 8% และมีเยื่อใยอยู่ในระดับต่ำ เป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะในการผสมเป็นอาหารสุกร ข้าวโพดที่ดีควรเป็นข้าวโพดที่บดอย่างละเอียด ไม่มีมอดกิน ไม่มีสิ่งปลอมปน และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขึ้นรา (สารพิษอะฟลาท็อกซิน) และไม่มียาฆ่าแมลงปลอมปน ข้าวโพดสามารถใช้ทดแทนปลายข้าวได้ ข้อเสียในการใช้ข้าวโพดคือ มีเชื้อราและยาฆ่าแมลง เนื่องจากการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาไม่ดีพอ
         ข้าวฟ่าง มีโปรตีนประมาณ 11% ข้าวฟ่างโดยทั่วไปจะมีสารแทนนิน ซึ่งมีรสฝาดอยู่ในระดับสูง สารแทนนินมีผลทำให้การย่อยได้ของโปรตีนและพลังงานลดลง ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดในการใช้ข้าวฟ่าง
         มันสำปะหลัง ใช้เลี้ยงสัตว์ในรูปมันสำปะหลังตากแห้งที่เรียกว่า มันเส้น มีโปรตีนประมาณ 2% มีแป้งมาก มีเยื่อใยประมาณ 4% ข้อเสียของการใช้มันเส้น คือ จะมีลำต้น เหง้า และดินทรายปนมาด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกใช้มันเส้นที่มีคุณภาพดี เกรดใช้เลี้ยงสุกร ส่วนหัวมันสำปะหลังสดไม่ควรนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เพราะมีการพิษกรดไฮโดรไซยานิคในระดับสูงมาก และเป็นอันตรายต่อสัตว์ได้ วิธีการลดสารพิษทำได้ 2 วิธี คือ

         ก. ทำเป็นมันเส้น โดยหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผึ่งแดดอย่างน้อย 3 แดด มันเส้นที่มีคุณภาพดี สามารถใช้ทดแทนปลายข้าวได้ ในกรณีปลายข้าวราคาแพง และมันเส้นราคาถูก (ปลายข้าว 1 กิโลกรัม เท่ากับมันเส้น 0.85 กิโลกรัม + กากถั่วเหลือง 0.15 กิโลกรัม)
         ข. ทำเป็นมันหมัก หมักในหลุม หรือถุงพลาสติก ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน ซึ่งจะลดปริมาณสารพิษกรดไฮโดรไซยานิคให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อ สุกร

3. อาหารประเภทไขมัน
ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ ไขมันวัว ไขมันสุกร ส่วนไขมันจากพืช ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำ เป็นต้น สาเหตุที่ต้องใช้ไขมันในสูตรอาหาร เพื่อเพิ่มระดับพลังงานในสูตรอาหารนั้นให้สูงขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในอาหารสุกรเล็ก โดยเติม 2-5 % ในอาหาร ข้อเสียของไขมันมักจะมีกลิ่นหืน และเก็บไว้ได้ไม่นาน
4. อาหารประเภทแร่ธาตุ และไวตามิน
         กระดูกป่น เป็นแหล่งของธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่ดีมาก แต่มีคุณภาพไม่แน่นอน
         ไดแคลเซียมฟอสเฟส ให้ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสทำมาจากกระดูก หรือทำจากหิน โดยนำเอาหินฟอสเฟตมาเผา ปกติจะใช้ไดแคลเซียมฟอสเฟตที่มีฟอสฟอรัส 18% (P18) หรือสูงกว่า
         เปลือกหอยบด ให้ธาตุแคลเซียมอย่างเดียว
         หัวไวตามินแร่ธาตุ หรือพรีมิกซ์ เป็นส่วนผสมของไวตามินและแร่ธาตุปลีกย่อยทุกชนิดที่สุกรต้องการ และพร้อมที่จะนำมาผสมกับวัตถุดิบ อาหารสัตว์อย่างอื่นได้ทันที พรีมิกซ์มีขายตามท้องตลาดทั่วไป
การให้อาหารสุกรระยะต่าง ๆ

       ลูกสุกรระยะดูดนมแม่
เริ่มให้อาหารสุกรนมโปรตีน 22% หรืออาหารสุกรอ่อนโปรตีน 20% เมื่อลูกสุกรมีอายุ 10 วัน ถึงหย่านม (หย่านม 28 วัน) และให้ต่ออีกประมาณ 3 วัน หลังจากหย่านมแล้ว
       ลูกสุกรระยะหย่านม
(หย่านม 28 วัน น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม) ให้อาหารสุกรอ่อนโปรตีน 20 % จนถึงอายุ 2 เดือน (น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม)
       สุกรระยะน้ำหนัก 20-35 กิโลกรัม ให้อาหารโปรตีน 18% โดยให้สุกรกินอาหารเต็มที่ สุกรจะกินอาหารวันละ 1-2 กิโลกรัม
       สุกรระยะน้ำหนัก 35-60 กิโลกรัม ให้อาหารโปรตีน 16% สุกรจะกินอาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม
       สุกรระยะน้ำหนัก 30 กิโลกรัม-ส่งตลาด ให้อาหารโปรตีน 14-15 % สุกรจะกินอาหารวันละ 2.5-3.5 กิโลกรัม
       การให้อาหารสุกรพันธุ์ทดแทน สุกรตัวที่ต้องการจะเก็บไว้ทำพันธุ์(ยกเว้นสุกรขุน ,สุกรทดสอบพันธุ์) ควรจำกัดอาหารเพื่อไม่ให้อ้วนเกินไป เมื่อสุกรน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม ใช้อาหารโปรตีน 16% ให้อาหารวันละ 2.2.5 กิโลกรัม
       การให้อาหารสุกรพ่อพันธุ์ ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % - พ่อพันธุ์ตัวใหญ่ 150 กิโลกรัมขึ้นไป ให้อาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม - พ่อพันธุ์ตัวเล็ก 100-150 กิโลกรัม ให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม
       การให้อาหารแม่สุกรอุ้มท้อง ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % แม่สุกรจะตั้งท้องประมาณ 114 วัน ควรให้อาหารดังนี้ - แม่สุกรสาวทดแทนให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม - แม่สุกรหลังจากผสมพันธุ์ให้อาหารวันละ 1.5-2 กิโลกรัม - แม่สุกรตั้งท้อง 0-90 วัน ให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม - แม่สุกรตั้งท้อง 90-108 วัน ให้อาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับสภาพแม่สุกรอ้วนหรือผอมด้วย) -แม่สุกรตั้งท้อง 108-114 วัน ให้อาหารวันละ 1-1.5 กิโลกรัม (เมื่อตั้งท้องได้ 108 วัน ให้ย้ายเข้าคอกคลอด)
       การให้อาหารแม่สุกรหลังคลอด ให้อาหารโปรตีนประมาณ 16% - คลอดลูกแล้ว 0-3 วัน ให้อาหารวันละ 1-2 กิโลกรัม -คลอดลูก 3-14 วัน ให้อาหารวันละ 2-3.5 กิโลกรัม - คลอดลูก 14 วันขึ้นไป ให้อาหารเต็มที่เท่าที่แม่สุกรจะกินอาหารได้ หรือประมาณวันละ 4-6 กิโลกรัม ในกรณีที่แม่สุกรมีลูก 7 ตัวขึ้นไป (ควรให้อาหารแม่สุกรวันละ 3 ครั้ง เป็นอย่างน้อย ดูตามสภาพของแม่สุกร ระวังอย่าให้แม่สุกรผอม)
       การให้อาหารแม่สุกรหลังหย่านม ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % - แม่สุกรหย่านมในวันแรก ให้อาหารวันละ 1.1.5 กิโลกรัม - แม่สุกรหย่านมจาก 2 วันขึ้นไป จนถึงแม่สุกรเป็นสัด (แต่ไม่ควรเกิน 15 วัน) ให้อาหารวันละ 3-4 กิโลกรัม เพื่อให้แม่สุกรสมบูรณ์พันธุ์เร็วขึ้นและเพิ่มการตกไข่ - แม่สุกรเป็นสัดและผสมพันธุ์แล้ว ลดอาหารลงเหลือวันละ 1.5-2 กิโลกรัม - แม่สุกรไม่เป็นสัดเกิน 15 วัน แสดงว่าแม่สุกรผิดปกติ ให้ลดอาหารลงเหลือวันละ 2 กิโลกรัม และหาวิธีการทำให้แม่สุกรเป็นสัด โดยทำให้แม่สุกรเกิดความเครียด ใช้วิธีต้อนขังรวมกัน (แม่สุกรขนาดน้ำหนักตัวใกล้เคียงกัน) หรือขังสลับคอกทุก ๆ 10 วัน ส่วนใหญ่แม่สุกรก็จะเป็นสัด ถ้าหากปฏิบัติเช่นนี้แล้วภายใน 1 เดือน แม่สุกรยังไม่เป็นสัด ควรคัดแม่สุกรออกไปจากฝูง
ข้อแนะนำในการเลือกใช้อาหารเลี้ยงสุกร
       ผสมอาหารใช้เองในฟาร์ม ต้องรู้จักเลือกวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดี วัตถุดิบตัวหลัก ๆ ได้แก่ กากถั่วเหลือง ปลาป่น ปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด และไวตามินแร่ธาตุในรูปของพรีมิกซ์ แล้วนำวัตถุดิบมาผสมตามสูตรและความต้องการของสุกรแต่ละขนาด โดยใช้เครื่อง โดยใช้เครื่องผสมอาหาร หรือ ผสมด้วยมือก็แล้วแต่สะดวก โดยอาศัยหลักผสมจากส่วนย่อยที่มีปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วจึงผสมเข้ากับส่วนใหญ่ วิธีนี้จะประหยัด สามารถเลือกใช้อาหารราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้มาก ซึ่งในเอกสารนี้ มีสูตรอาหารที่ใชเลี้ยงสุกรตั้งแต่สุกรนมจนถึงสุกรพ่อแม่พันธุ์
       ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป ตั้งแต่สุกรนม สุกรอ่อน สุกรเล็ก สุกรรุ่น สุกรขุน และสุกรพันธุ์ ข้อดีคือสะดวกในการใช้และจัดหา ซึ่งอาหารสำหรับสุกรแต่ละขนาด จะมีจำหน่ายตามท้องตลาด ข้อเสียคือ ราคาจะแพง และผู้ใช้ไม่ทราบชัดเจนว่าอาหารเม็ดสำเร็จรูปประกอบด้วยวัตถุดิบอะไรบ้าง
       ใช้หัวอาหารสำเร็จ (ส่วนใหญ่จะมีโปรตีนประมาณ 32-36 % และผสมไวตามินแร่ธาตุไว้ด้วยแล้ว) ใช้ผสมกับปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด ตามอัตราส่วน น้ำหนักที่ระบุจำนวนวัตถุดิบข้างถุงอาหาร การใช้ในสุกรแต่ละขนาดให้คำนึงถึงเปอร์เซ็นต์โปรตีนในอาหารผสมด้วย

สูตรอาหารสำหรับสุกรพ่อแม่พันธุ์ ลูกสุกรหย่านม สุกรพันธุ์ และ สุกรขุน
รายการ
หมูนม
0-6กก.
สุกรหย่านม 4-9 สัปดาห์ 6-25 กก.
สุกรรุ่น
9 สัปดาห์ ขึ้นไป 25-90 กก.
สุกรทดสอบพันธุ์ 25-90 กก.
สุกรพ่อแม่พันธุ์
อุ้มท้อง
แม่สุกรเลี้ยงลูก
เปอร์เซ็นต์โปรตีน
ในอาหาร
พลังงานใช้ประโยชน์ได้ (กิโลแคลอรี่ / กก.)
ราคาวัตถุดิบ
ต่อกิโลกรัม (บาท)
ข้าวโพด
-
-
-
-
-
-
8
3168
5.0
ปลายข้าวนึ่ง
45.0
49.8
-
-
-
-
8
3596
5.4
ปลายข้าว
-
-
58.0
51.7
50.0
56.0
8
3596
5.8
รำละเอียด
-
-
20.0
15.0
30.0
20.0
12
3120
4.3
หางนมผง
10.0
5.0
-
-
-
-
26
3570
38.0
เศษเส้นหมี่
-
-
-
-
-
-
4
-
5.0
กากถั่วเหลือง
สกัดน้ำมัน
-
16.0
15.0
21.0
13.0
16.0
44
2825
11.2
ถั่วเหลือง
อบไขมันสูง
32.0
16.0
-
-
-
-
38
3704
11.6
ปลาป่น
7.0
5.0
4.0
5.0
4.0
4.0
56
2550
25.0
ไดแคลเซียม
ฟอสเฟต
2.0
3.0
2.0
4.0
2.0
3.0
-
-
14.5
น้ำตาลทราย
3.0
2.0
-
-
-
-
-
3680
15.0
ไขมัน
-
2.0
-
2.0
-
-
-
8300
20.0
เกลือป่น
-
0.3
0.5
0.5
0.5
0.5
-
-
4.0
กากน้ำตาล
-
-
-
-
-
-
-
-
ไลซีน
-
-
-
-
-
-
-
-
100
ยาปฏิชีวนะ
0.5
0.4
0.25
0.3
0.15
0.25
-
-
200
พรีมิกซ์
0.5
0.5
0.5
0.5
0.5
0.5
-
-
74
รวม
100
100
100.25
100
100.15
100.25
-
-
-
เปอร์เซ็นต์โปรตีน
22.28
21.20
15.16
17.98
15.56
16.16
-
-
-
พลังงาน
(กิโลแคลอรี่/กก.)
3445
3381
3235
3214
3203
3192
-
-
-
ราคาต่อกิโลกรัม
14.08
12.00
8.24
9.42
7.80
8.40
-
-
-
แสดงส่วนประกอบของสารอาหารในวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ
วัตถุดิบ
ความชื้น
โปรตีน
ไขมัน
เยื่อใย
เถ้า
พลังงานใช้ประโยชน์ได้
(กิโลแคลอรี่/กก.)
(สุกร)
แคลเซียม
ฟอสฟอรัส
กากถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
ด้วยสารเคมี
10
44.0
1.0
7.0
6.0
2825
0.25
0.20
กากลิสงสกัดน้ำมัน
10
40.0
1.5
9.0
5.5
3260
0.15
0.20
กากเมล็ดยางพารา
(ไม่กระเทาะเปลือก,อัดน้ำมัน)
8
16.0
6.33
41.52
4.01
1800
0.22
0.09
ปลาป่น
8
55.0
8.0
1.0
26.0
2550
7.7
3.8
กากเมล็ดนุ่น
10
20.4
6.1
19.9
7.1
-
0.38
0.42
กากมะพร้าว
10
21.0
6.0
12.0
7.0
3080
0.20
0.20
ใบกระถินป่น
10
20.2
3.5
18.0
8.8
1300
0.54
0.30
ข้าวเปลือก
10
6.0
1.2
9.0
4.5
2360
0.05
0.10
ปลายข้าว
12
8.0
0.9
1.0
0.7
3596
0.03
0.04
รำละเอียด
12
12.0
12.0
11.0
10.9
3120
0.06
0.47
รำสกัดน้ำมัน
9
13.9
1.0
13.0
15.0
2200
0.08
0.50
รำหยาบ
9
6.2
4.5
28.4
18.2
-
0.14
0.10
ข้าวโพด
13
8.0
4.0
2.5
1.3
3168
0.01
0.10
ข้าวฟ่าง
13
11.8
3.0
2.5
1.5
3140
0.04
0.10
มันเส้น
10
2.5
0.75
3.7
3.7
3260
0.12
0.05
กากน้ำตาล
27
4.0
-
-
7.0
2343
0.80
0.03
ขนไก่ป่น
10
83.5
2.5
1.5
2.5
2760
0.20
0.75
หางนมผง
5
35.0
1.0
-
8.0
3570
1.30
1.0


โรงเรือนสุกร

แบบเพิงหมาแหงน
แบบจั่วสองชั้นกลาย
แบบเพิงหมาแหงนกลาย
แบบหน้าจั่ว
แบบจั่วสองชั้น
     โรงเรือนที่ดีจะสะดวกในการจัดการฟาร์ม สุกรจะอยู่ภายในคอกอย่างสบาย ขั้นตอนในการสร้างโรงเรือนสุกรมีดังนี้
   1. สถานที่ก่อสร้างโรงเรือนสุกร ควรเป็นที่ตอนน้ำไม่ท่วม มีที่ระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมนุมชน ตลาด และผู้เลี้ยงสุกรรายอื่น
   2. สร้างโรงเรือนสุกรตามแนวตะวันออก-ตะวันตก และระยะห่างของแต่ละโรงเรือน ประมาณ 20-25 เมตร เพื่อแยกโรงเรือนออกจากกันเป็นสัดส่วน
   3. ลักษณะของหลังคาโรงเรือนสุกรม 5 แบบ ด้วยกัน ดูตามรูป ด้านบน
           แบบเพิงหมาแหงน

โรงเรือนแบบนี้สร้างง่าย ราคาก่อสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ แสงแดดจะส่องมากเกินไปในฤดูร้อน ทำใหอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง ในฤดูฝนน้ำฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ง่าย ทำให้ภายในโรงเรือนชื้นแฉะ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง หากมุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก และจาก จะต้องให้มี ความลาดเอียงของหลังคาในระดับลาดชันสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลลงจากหัวคอกไปท้ายคอกได้สะดวก มิฉะนั้นจะทำให้ฝนรั่วลงในตัวโรงเรือน
           แบบเพิงหมาแหงนกลาย
จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าแบบเพิงหมาแหงน แต่มีข้อดีสามารถใช้บังแสงแดด ป้องกันฝนสาดได้ดีขึ้น
           แบบหน้าจั่ว
ราคาก่อสร้างจะสูงกว่าสองแบบแรก แต่ดีกว่ามาก ในแง่การป้องกันแสงแดดและฝนสาด โรงเรือนแบบนี้ถ้าสร้างสูงจะดีเนื่องจาก อากาศภายในโรงเรือนจะเย็นสบาย แต่ถ้าสร้างต่ำหรือเตี้ยเกินไปจะทำให้อากาศภายในโดยฌฉพาะตอนบ่ายร้อนอบอ้าว อากาศร้อนจะไม่ช่องระบายออก ด้านบนหลังคา
           แบบจั่วสองชั้น
เป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไป มีความปลอดภัยจากแสงแดดและฝนมาก อากาศภายในโรงเรือนมีการระบายถ่ายเทได้ดี แต่ราคาค่า ก่อสร้างจะสูงกว่าสามแบบแรก แต่ก็นับว่าคุ้มค่า ข้อแนะนำก็คือ ตรงจั่วบนสุด ควรให้ปีกหลังคาบนยื่นยาวลงมาพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนสาดเข้า ในช่องจั่ว ในกรณีที่ฝนตกแรง ทำให้คอกภายในชื้นแฉะ โดยเฉพาะลูกสุกรจะเจ็บป่วย เนื่องจากฝนสาดและทำให้อากาศภายในดรงเรือนมีความชื้นสูง
           แบบจั่วสองชั้นกลาย
มีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับแบบจั่วสองชั้น หลังคาโรงเรือนแบบนี้ เพื่อต้องการขยายเนื้อที่ในโรงเรือนให้กว้างใหญ่ขึ้น และจะดี ในแง่ป้องกันฝนสาดเข้าในช่องจั่วของโรงเรือน

    4. วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ขึ้นอยู่กับงบการลงทุน วัสดูที่ใช้ เช่น กระเบื้อง อะลูมิเนียม สังกะสี แฝก และจาก เป็นต้น
    5. ความสูงและความกว้างของโรงเรือน ถ้าโรงเรือนสูงและกว้างจะมีส่วนช่วยให้โรงเรือนเย็นสบาย ถ้าเลี้ยงสุกรขุนมักจะสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดิน อยู่ตรงกลาง ขนาดของคอก ด้านหน้ากว้าง 4 เมตร ยาวไปด้านท้ายคอก 3.5 เมตร (ขังสุกรขุนคอกละ 8-10 ตัว) หลังคาจั่ว 2 ชั้น ควรสูงประมาณ 8 เมตร ความยาวของโรงเรือนตามความเหมาะสม 20-100 เมตร
    6. พื้นคอก โดยทั่วไปสร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกรดวยพื้นคอนกรีต ซึ่งจะประหยัดเงินลงทุน ยกเว้นถ้าจะสร้างโรงเรือนสุกรพ่อแม่พันธุ์ อาจจะเป็นพื้นสองชั้น หรือเรียกว่าพื้นสแล็ต (พื้นสแล็ตสำเร็จรูปเป็นแผ่นมีรูเป็นช่อง ๆ สำหรับให้น้ำไหลจากพื้นชั้นบนลงไปพื้นชั้นล่าง) ใช้งบลงทุนมาก แต่จะสะดวกในการ จัดการดูแลสุกรพ่อแม่พันธุ์ และแม่สุกรเลี้ยงลูก
    7. ผนังคอก ทั่วๆ ไป มักใช้อิฐบล๊อค แป๊บน้ำ ลวดถัก ไม้ขนาด 1.5 นิ้วx 3 นิ้ว ความสูงของผนังคอกจะสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าเป็นสุกรพ่อพันธุ์ควร สูง 1.2 เมตร
ชนิดของโรงเรือน
    โรงเรือนสุกรพันธุ์ มีคอกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ท้องว่าง แม่พันธุ์อุ้มท้องและคอกคลอด
           - คอกพ่อพันธุ์ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1.2 เมตร (กว้างx ยาว x สูง)
           - คอกแม่พันธุ์ท้องว่างขนาด 0.6 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
           - คอกแม่พันธุ์อุ้มท้องขนาด 1.2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
           - คอกคลอด ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร (ซองแม่คลอดขนาด 0.6 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร ที่เหลือจะเป็นบริเวณสำหรับลูกสุกร)
           - สำหรับเกษตรกรรายย่อยคอกแม่พันธุ์ที่เหมาะสม ควรมีขนาด 1.5 x 2.0 เมตร สามารถใช้เป็นคอกเลี้ยงขังเดี่ยว และใช้เป็นคอกคลอดได้ด้วย ถ้าใช้เป็นคอกคลอดให้ทำซองไม้ขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 2.0 เมตร ให้แม่สุกรอยู่ในซองคลอด ส่วนลูกสุกรปล่อยอยู่รอบ ๆ ซองคลอด (ภายในคอกคลอด)
คอกพ่อพันธุ์สุกร
คอกแม่สุกรท้องว่าง
โรงเรือนสุกรเล็กและสุกรรุ่น
           - คอกสุกรเล็ก (ลูกสุกรหย่านมหรือน้ำหนักประมาณ 6-20 กิโลกรัม) ขนาด 1.5 x 2 เมตร สูง 0.8 เมตร

           - คอกสุกรรุ่น (สุกรขนาด 20-35 กิโลกรัม) ขนาด 2x3 เมตร สูง 1 เมตร
คอกแม่พันธุ์ท้องว่าง
คอกแม่สุกรอุ้มท้อง
    โรงเรือนสุกรขุน
คอกสุกรขุนนิยมสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตรงกลาง มีรางอาหารออยู่ด้านหน้า ก็อกน้ำอัตโนมัติอยู่ด้านหลังคอก ก็อกน้ำสูงจากพื้นคอกประมาณ 50 เซนติเมตร ขนาดของคอก 4x3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร ขังสุกรขุนขนาด 60-100 กิโลกรัม ได้ 8-10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนก็ขึ้น อยู่กับจำนวนของสุกรขุนที่เลี้ยงว่าต้องการความยาวของโรงเรือนเท่าใด สุกรขุนถ้าเลี้ยงบนพื้นคอนกรีต จะใช้พื้นที่ประมาณ 1.2-1.8 ตารางเมตร/ตัว
คอกสุกรคลอด
ลักษณะระบบของโรงเรือนสุกร

1. โรงเรือนระบบเปิด หมายถึง โรงเรือนที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ และอุณหภูมิจะแปรไปตามสภาพของอากาศรอบโรงเรือน
2. โรงเรือนระบบปิด หมายถึง โรงเรือนที่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของสุกร ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ และแสงสว่าง สามารถป้องกันพาหะนำโรคได้ โรงเรือนปิด เช่น โรงเรือนอีแว็ป (Evaprative System) เป็นต้น ราคาลงทุนครั้งแรกค่อนข้างแพง แต่สุกรจะอยู่สุขสบายและโตเร็ว

โรงเรือนระบบ Evaporative Cooling System


การสุขาภิบาล การป้องกันโรค และโรคติดต่อ
         การสุขาภิบาล     หมายถึง   การจัดการเพื่อให้สัตว์อยู่อย่างสบาย ปลอดภัยจากเชื้อโรคต่าง ๆ การทำคอกให้สะอาด การให้อาหารที่ดี และการจัดการที่เป็น ประโยชน์ต่อการผลิตสุกร
         การทำความสะอาดคอกสุกร ควรทำความสะอาดคอกสุกรทุกวัน (โดยการกวาดแห้งด้วยไมักวาด ตักเอามูลสุกรออก) และล้างคอกด้วยน้ำอย่าง น้อยสัปดาห์ละครั้ง ควรล้างคอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเดือนละครั้ง นอกจากนี้ควรทำบ่อเก็บมูลสุกร เพื่อป้องกันกลิ่นและของเสียจากมูลสุกรไปรบกวน เพื่อนบ้าน

วิธีการป้องกันกำจัดกลิ่น และของเสียจากฟาร์มสุกร
         เนื่องจากปัญหามลภาวะกลิ่นมูลสุกรจากฟาร์มสุกร ไปรบกวนชาวบ้านใกล้เคียงให้รำคาญ ตลอดจนการระบายน้ำเสียจากฟาร์มสุกรลงสู่แม่น้ำ ดังนั้น ผู้เลี้ยงสุกรควรจะต้องคำนึงถึงการป้องกันกำจัดกลิ่น และการเก็บของเสียจากฟาร์มสุกร ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการจัดการ ดังนี้
         1. บ่อไอโอแก๊ส ฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่เลี้ยงสุกรหนึ่งพันตัวขึ้นไป ควรสร้างบ่อไอโอแก๊ส เพื่อเก็บมูลสุกร และนำพลังงานจากบ่อไอโอแก๊ส ซึ่งอยู่ ในรูปของแก๊สเปลี่ยนเป็นเป็นพลังงานไฟฟ้า ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานในฟาร์มสุกร หรือนำแก๊สที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาหารและกกลูกสุกร เป็นต้น
        2. บ่อกำจัดน้ำเสีย
การทำฟาร์มสุกรควรมีการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะฟาร์มสุกรที่เลี้ยงสุกร ใกล้กับแม่น้ำ บ่อบำบัดน้ำเสียประกอบไปด้วยบ่อตกตะกอน บ่อหมักและบ่อผึ่ง น้ำล้างคอกสุกรที่ผ่านการบำบัดแล้ว จะลดความสกปรกลงและลดกลิ่นเน่าเหม็นของมูลสุกร

บ่อบำบัดน้ำเสีย
       3. บ่อเกรอะ ในฟาร์มสุกรของเกษตรกร รายย่อยที่ไม่สามารถสร้างบ่อไบโอแก๊สหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย ควรสร้างบ่อเกรอะไว้เก็บมูลสุกร ขนาดของบ่อ เกรอะขึ้นอยู่กับจำนวนสุกรที่เลี้ยง ลักษณะของบ่อเกรอะก็เหมือนกันส้วมซึมที่ใช้ตามบ้านคน ประกอบด้วย 2 บ่อ บ่อแรกจะเป็นบ่อตกตะกอน ของแข็งจะตก ตะกอนลงที่บ่อแรก ส่วนที่เป็นของเหลวจะไหลต่ออกไปยังบ่อที่สองและของเหลวจากบ่อที่สองจะซึมลง ไปในดินหรือต่อท่อระบายสู่ข้างนอกต่อไป ของเหลวที่ระบายออกไปก็จะได้รับการบำบัดบ้างแล้ว
         4. การใช้สารจุลินทรีย เช่น สารอี.เอ็ม (Effective Microorganisms) ราดพ่นตามโรงเรือน ตามกองมูลสุกร หรือราดตามบ่อน้ำเสียที่รองรับมูลสุกร สารอี.เอ็ม จะช่วยในการลดกลิ่นในฟาร์มสุกร (สารอี.เอ็ม นี้เท่าที่ทราบสามารถติดต่อขอซื้อได้ในราคาถูก ที่ศูนย์โยเร ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี) สารอี.เอ็ม มีวิธีการเก็บ และหมักเชื้อ (ต่อเชื้อได้เอง) เพื่อนำไปใช้ได้เป็นระยะเวลานาน 
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น